เมนู

ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความฉิบหาย, ด้วยว่า คนพาลได้ศิลปะหรือความเป็น
อิสระแล้ว ย่อมทำความฉิบหายแก่ตนถ่ายเดียว" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรง
สืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
13. ยาวเทว อนตฺถาย ญตฺตํ พาลสฺส ชายติ
หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ มุทฺธํ อสฺส วิปาตยํ.
"ความรู้ย่อมเกิดแก่คนพาล เพียงเพื่อความ
ฉิบหายเท่านั้น, ตามรู้นั้น ยังหัวคิดของเขาให้
ตกไป ย่อมฆ่าส่วนสุกกธรรมของคนพาลเสีย."

แก้อรรถ


ศัพท์ว่า ยาวเทว ในคาถานั้นเป็นนิบาต ในอรรถคือความ
กำหนดซึ่งแดน. ภาวะคือความรู้ ชื่อว่า ญตฺตํ. บุคคลย่อมรู้ศิลปะ
แม้ใด, หรือบุคคลดำรงอยู่ในความเป็นใหญ่ใด หรือด้วยความถึงพร้อม
ด้วยยศใด อันชนย่อมรู้จัก คือปรากฏ ได้แก่เป็นผู้โด่งดัง, คำว่า ญตฺตํ
นี้ เป็นชื่อแห่งศิลปะ ความเป็นใหญ่และความถึงพร้อมด้วยยศนั้น. แท้
จริง ศิลปะหรือความเป็นใหญ่เป็นต้น ย่อมเกิดแก่คนพาล เพื่อความ
ฉิบหายถ่ายเดียว คือคนพาลนั้น อาศัยศิลปะเป็นต้นนั้น ย่อมทำความ
ฉิบหายแก่คนอย่างเดียว. บทว่า หนฺติ ได้แก่ ให้พินาศ. บทว่า
สุกฺกํสํ คือส่วนแห่งกุศล. อธิบายว่า ก็ศิลปะหรือความเป็นใหญ่ เมื่อ
เกิดขึ้นแก่คนพาล ย่อมเกิดขึ้นฆ่าส่วนอันเป็นกุศลอย่างเดียว. บทว่า มุทฺธํ
นี้ เป็นชื่อว่าของปัญญา. บทว่า วิปาตยํ คือกำจัดอยู่ อธิบายว่า
ก็ความรู้นั้น ฆ่าส่วนกุศลของคนพาลนั้น ยังมุทธา กล่าวคือปัญญา

ให้ตกไป คือขจัดอยู่นั้นแหละ ชื่อว่าฆ่า.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องสัฏฐิกูฏเปรต จบ.

14. เรื่องพระสุธรรมเถระ [58]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสุธรรม-
เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อสนฺตํ ภาวมิจฺเฉยฺย" เป็นต้น.

จิตตคฤหบดีถวายสวนเป็นสังฆาราม


ก็เทศนาตั้งขึ้นแล้ว ในมัจฉิกาสัณฑนคร จบแล้วในกรุงสาวัตถี.
ความพิสดารว่า จิตตคฤหบดี ในมัจฉิกาสัณฑนคร เห็นพระ-
มหานามเถระ ภายในพวกภิกษุปัญจวัคคีย์ เที่ยวบิณฑบาตอยู่ เลื่อมใส
ในอิริยาบถของพระเถระแล้ว จึงรับบาตร นิมนต์ให้เข้าไปสู่เรือนให้ฉัน
แล้ว ในกาลเสร็จภัตกิจ สดับธรรมกถา บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว เป็น
ผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหว ใคร่เพื่อจะทำอุทยานของตนอันชื่อว่าอัมพาฏกวัน
ให้เป็นสังฆาราม จึงหลั่งน้ำลงไปในมือของพระเถระ มอบถวายแล้ว. ใน
ขณะนั้น มหาปฐพี ทำน้ำที่สุด ก็หวั่นไหวด้วยบอกเหตุว่า " พระพุทธ-
ศาสนาตั้งมั่นแล้ว."
มหาเศรษฐี ให้สร้างวิหารใหญ่ในอุทยาน ได้เป็นผู้มีประตูเปิดไว้
เพื่อพวกภิกษุผู้มาจากทิศทั้งปวงแล้ว. พระสุธรรมเถระ ได้เป็นเจ้าอาวาส
อยู่ในมัจฉิกาสัณฑ์.

คฤหบดีบรรลุอนาคามิผล


โดยสมัยอื่น พระอัครสาวกทั้งสอง สดับกถาพรรณนาคุณของ